หากเราได้เดินตลาดจะพบผ้าย้อมคราม รวมไปถึงเสื้อมัดย้อม ราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลัก 100 บาทขึ้นไป ซึ่งมีการเคลมว่า “ย้อมจากครามธรรมชาติ” จนทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วผ้าย้อมครามที่ราคาหลัก 1,000 ขึ้น แตกต่างกันอย่างไร? ในเมื่อซื้อในหลักร้อยได้ ทำไมต้องยอมจ่ายหลักพันด้วย?
“ครามสังเคราะห์” V.S “ครามธรรมชาติ”
ครามสังเคราะห์ ครามเกล็ด ครามผง
เนื่องจาก “สีคราม”เป็นสีที่นิยม แต่หากผลิตตามกระบวนการตามธรรมชาติ ก็ผลิตได้น้อย ยุ่งยาก ไม่ทันใช้ในอุตสาหกรรมใหญ่ ประเทศเยอรมันนีจึงได้คิดค้น Synthetic Indigo ขึ้นมา ซึ่งเป็นครามสังเคราะห์ หรือที่บ้านเราชอบเรียกกันว่า “ครามเกร็ด” หรือ “ครามผง” นั่นเอง
“ครามสังเคราะห์” ที่ผลิตขึ้นมาจะมีโครงสร้างโมเลกุล ที่เหมือนกับครามธรรมชาติ จึงได้รับการเคลมอยู่ตลอดว่าจากผู้ผลิต และแม่ค้าว่า “เป็นครามธรรมชาติ” แต่ข้อแตกต่างก็คือ ครามสังเคราะห์จะไม่มีกลิ่นหอมคราม และมีครามเข้มข้นมากกว่าแบบธรรมชาติ ใช้แค่ 1 ใน 3-4 เมื่อเทียบกับปริมาณครามธรรมชาติเท่านั้น
ทำให้ ใช้จำนวนน้อยก็สามารถผลิตได้ครั้งละมาก ๆ ไม่ต้องเปลืองแรง แค่จุ่ม ๆ สีก็เข้มสวย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหมักบ่มคราม แค่แกะซอง ทำละลาย รอสักพัก ก็ย้อมได้เลยค่ะ (ดูรูปประกอบ) จึงทำให้ต้นทุนต่ำกว่าครามธรรมชาติมาก ต้นทุนก็ถูกกว่าหลายเท่าตัวเลยทีเดียว
แต่ข้อเสียคือ การย้อมลักษณะนี้ จะต้องใช้ “โซดาไฟ” ในการทำละลายครามเกร็ด ครามผง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างมาก สามารถกัดผิวหนังได้ จนไหม้เป็นแผลลึกได้ จึงต้องระมัดระวังในการย้อมมาก ๆ ค่ะ ซึ่งถือว่าค่อนข้างอันตรายหากตกค้างในผ้าที่เรามาใช้สวมใส่อีกด้วย
ครามสังเคราะห์ แบ่งเป็น
1. ครามเคมี: ใช้เวลาเพียง 1 วันในการทำปฎิกริยา ผลลัพธ์ก็จะได้ครามที่มีฟองฟอดขึ้นมาด้านบน คล้ายกับครามธรรมชาติค่ะ หลังจากนั้นก็สามารถนำผ้ามาย้อมได้
2. ครามสังเคราะห์: ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ในการทำปฎิกริยา แบบนี้จะไม่มีฟองก็สามารถนำผ้ามาย้อมได้แล้วค่ะ
** ครามแบบนี้ มีความเข้มข้นกว่าครามธรรมชาติ 3-4 เท่า ทำให้ประหยัดมากกว่าครามธรรมชาติ และย้อมง่ายกว่า
ข้อเสียคือไม่มีกลิ่นหอมคราม และใช้สารเคมีอย่าง “โซดาไฟ” เป็นตัวทำละลาย
เนื้อครามธรรมชาติ หรือเนื้อครามเปียก
เนื้อครามเป็นส่วนผสมที่สำคัญในหม้อคราม เนื้อครามผลิตมาจาก “ต้นคราม” (Indigofera) จากส่วนของใบ และกิ่ง ส่วนวิธีการนำนั้นกินเวลาตั้งแต่ 2-3 วัน ตั้งแต่การแช่ครามประาณ 20 ชั่วโมง การแยกกากใบคราม การกวนเติมปูนขาว จากนั้นก็นำไปพักไว้อีก 1 คืน เพื่อรอตกตะกอน และสุดท้ายก็จะได้เนื้อครามเปียกมาใช้เติมในหม้อครามนั่นเองค่ะ
แต่นี่เป็นเพียงแค่วัตถุดิบเริ่มต้นในการก่อหม้อเท่านั้น เมื่อได้เนื้อครามมาแล้ว ก็ต้องไปรวบรวมวัตถุดิบต่าง ๆ เช่น น้ำด่าง (บางที่ใช้โซดาแอช แต่ Mantra Fabrics เราใช้น้ำด่างที่ทำมาจากขี้เท่าแท้ ๆ ค่ะ), น้ำสมุนไพร และอื่น ๆ อีกมาก
ระยะเวลาการก่อหม้อประมาณ 2 อาทิตย์ – 1 เดือนเป็นอย่างน้อย ส่วนการย้อม ยิ่งผ้าหนา อย่างเช่นผ้าฝ้ายทอมือเข็นมืออย่างร้านของเรา ก็จะย้อมมากกว่า 3 วัน ซ้ำกว่า 20 รอบ เพื่อให้ได้สีครามที่เข้มสวยค่ะ จึงทำให้ต้นทุนสูงมาก ต่างจากครามสังเคราะห์ที่ใช้เวลาย้อมไม่กี่ชั่วโมง
ข้อดีของครามธรรมชาติ
1. มีกลิ่นหอมคราม (ครามเคมีจะไม่มีกลินหอมครามค่ะ)
2. ปลอดภัยไร้สารเคมีอันตราย: ครามไวต่อสารเคมีอย่างมาก หากมีสารเคมีปนเปื้อนในผ้า หรือในหม้อครามเพียงเล็กน้อย หม้อครามก็จะเสียได้ ดังนั้น ทุกการย้อมเราจึงต้องควบคุมไม่ให้มีสารเคมีใด ๆ ตกค้างลงในผ้า ที่อาจส่งผลให้หม้อครามเสียหายได้
ส่วนทางฝั่งอินเดีย ก็จะผลิตครามออกมาเป็น Indigo Cake ซึ่งคือเนื้อครามที่ผ่านการระเหยของน้ำออกจนเหลือก้อนแข็ง ๆ ราคารุนแรงมาก ๆ ค่ะ ก้อนนึงตก (ดูรูปภาพประกอบ) ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจจะสับสนกับครามเกร็ด ก็เป็นไปได้ค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม ทางร้าน Mantra Fabrics เราใช้ครามธรรมชาติ ที่ผลิตจากใบครามแท้ ๆ 100% (เพราะเราย้อมเองค่ะ กลัวสารเคมีอันตราย) ทำให้ทุกท่านมั่นใจได้เลยว่า ผ้าครามทุกผืนจากทางร้าน ของแท้ แน่นอน ล้านเปอร์เซ็นต์ จ้า